Trichotillomania “การถอนผมตัวเอง”
Trichotillomania “การถอนผมตัวเอง”

คุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการแปลก ๆ
ชอบดึงทึ้งผมของตัวเองจนแหว่งหรือศีรษะล้านเลยหรือไม่? ทั้ง
ๆ ที่รู้ว่าไม่ควรทำ แต่คุณก็ไม่อาจบังคับใจตัวเองได้
หากคุณมีอาการเช่นนี้ล่ะก็ไม่ต้องตื่นตกใจไปว่าคุณเป็นพวกโรคจิต
เพราะอาการเช่นนี้มีทางรักษา
ซึ่งวันนี้เราจะมาเผยเรื่องราวของโรคและการรักษาที่ถูกต้องให้ได้ฟังกันค่ะ
สำหรับโรคนี้เรียกว่า โรคถอนผมตัวเอง (Trichotillomania) เป็นภาวะผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง
และเป็นนิสัยหรือพฤติกรรมที่ย้ำคิดย้ำทำ โดยการถอนผมหนังศีรษะหรือขนตามตัว (ขนตา, ขนจมูก, ขนหน้าอก, ขนเพชร, คิ้ว) เล่นโดยที่ไม่รู้ตัว
ส่วนมากมักถอนขนในขณะทำกิจกรรมบางอย่างที่เพลิน
ๆ เช่น ขณะนั่งอ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์ ถอนจนผมร่วงเกือบหมดหัว
หรือหายเป็นหย่อม ๆ จนมีลักษณะผมที่แหว่งไป โดยพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
อายุที่พบโดยเฉลี่ยประมาณ 11 ปี
แต่ถ้าเริ่มป่วยตอนอายุมากอาการมักจะเป็นเรื้อรัง ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นนานถึง 20
ปี บางรายหายได้ภายในหนึ่งปี
สาเหตุของโรค
พฤติกรรมถอนผมตนเองจัดเป็นพฤติกรรมที่ทำร้ายตนเองอย่างหนึ่ง
ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่นอน
เบื้องต้นสามารถสรุปสาเหตุได้ดังนี้
1. จากพยาธิสภาพของโรคเอง
คือ มีความผิดปกติในสมองส่วนที่เกี่ยวกับการแสดงออกของพฤติกรรม
หรือมีระดับของสารเคมีบางตัวในร่างกายผิดปกติ
จึงมีโอกาสที่จะมีปัญหาในด้านการกระทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ
ซึ่งบางรายอาจออกมาเป็นการทำร้ายตนเองอย่างรุนแรงซ้ำ ๆ เช่น โขกศีรษะ
หรือถอนผมตนเอง เป็นต้น
2. จากพยาธิสภาพทางจิตใจ เกิดความเครียด
เช่น มีปัญหาความสัมพันธ์กับครอบครัว กลัวการทอดทิ้ง เป็นต้น
3. จากปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม
การดำรงชีวิตอยู่ในสังคม
อาจเกิดจากความคับข้องใจหากมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
หรือที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เช่น มีการรับประทานอาหารที่ซ้ำซาก
หรือการจำเส้นทางเดินทาง หรือการจัดสิ่งของให้อยู่อย่างเดิม
ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่เป็นไปตามสภาพแวดล้อมปกติที่เคยอยู่
จะทำให้มีความคับข้องใจ ซึ่งอาจแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมการทำร้ายตนเองได้
การรักษา
รักษาร่วมกันระหว่างจิตแพทย์และแพทย์ผิวหนัง
โดย
1. รักษาอาการผมร่วงกับแพทย์ผิวหนัง
2. ใช้แชมพูและสระผมตามสภาพผม
3. หากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำร่วมกันในครอบครัว
4. ป้องกันการถอนผมตนเอง เช่น
การนำวัสดุที่หาได้ในบ้าน เช่น หมวกคลุมผมเวลาอาบน้ำ ผ้าคลุมผม หมวก ฯลฯ
มาคลุมที่ศีรษะ เพื่อป้องกันการดึงผมตนเอง ในระยะแรก ๆ
อาจจะรำคาญและจะดึงออกตลอดเวลา แต่เมื่อเอามือจับศีรษะแล้วไม่พบเส้นผม
ไม่สามารถถอนผมตนเองได้ ในระยะต่อมาก็อาจช่วยลดพฤติกรรมถอนผมลงไปในที่สุด
5. หากไม่สามารถหยุดถอนผมตัวเองได้
ให้ทำบันทึกตารางที่ถอนผม เมื่อทำได้ดีขึ้นจะได้มีกำลังใจ
6. ในกรณีที่เป็นเรื้อรังควรปรึกษาจิตแพทย์
ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาเพิ่มเติม
อ้างอิง https://health.kapook.com/view51408.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น